แบบก่อสร้างแยกออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่  ได้แก่ แบบก่อสร้างทางสถาปัตยกรรม และแบบวิศวกรรม ดังนี้

1. แบบก่อสร้างทางสถาปัตยกรรม (Architectural Drawing)

แบบก่อสร้างทางสถาปัตยกรรมเป็นแบบที่สถาปนิกเป็นผู้กำหนดรูปร่าง ลักษณะ และโครงสร้างทั่วไปของอาคาร โดยแสดงด้วยรูปฉาย (Othographic Projection) เขียนด้วยมาตราส่วนย่อเพื่อให้ผู้อ่านแบบสามารถวัดขนาดของอาคารได้ทุกส่วน และนำไปใช้เป็นแนวทางในการก่อสร้างเป็นตัวอาคารได้จริง มีรูปร่าง ลักษณะ ขนาดตรงตามที่เขียนไว้ในแบบทุกประการ 

แบบก่อสร้างทางสถาปัตยกรรมนี้ แสดงด้วยรูปแบบของอาคารทางแนวราบที่บอกขนาดความกว้างความยาวของตัวอาคารด้วยรูปผัง (Plan) ต่าง ๆ และรูปแบบที่บอกความสูงของอาคารทางแนวดิ่งด้วยรูปด้านและรูปตัด บางส่วนของอาคารที่แสดงได้ไม่ละเอียดชัดเจนพอในผังรูปด้านหรือรูปตัด อาจแสดงด้วยรูปขยายเฉพาะจุดให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเรียกว่า “แบบขยายรายละเอียดทางสถาปัตยกรรม”

นอกจากนั้น ยังมีตารางรายละเอียดที่เขียนอธิบายส่วนของอาคารที่ไม่สามารถเขียนแสดงได้ด้วยรูปในแบบข้างต้น และมีรายการประกอบแบบก่อสร้าง ซึ่งระบุถึงชื่อการค้า คุณภาพของวัสดุก่อสร้างที่ใช้ในการก่อสร้างส่วนต่าง ๆ ของอาคาร และวิธีการก่อสร้างที่กำหนดให้ผู้ทำการก่อสร้างปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักวิ=าการก่อสร้างและความประสงค์ของผู้ออกแบบอีกด้วย

แบบก่อสร้างทางสถาปัตยกรรม จำแนกออกได้ตังนี้

1 ผังบริเวณ (Layout Plan) และผังที่ตั้ง (Site Plan)

2 ผังพื้นทุกชั้น (Floor Plans)

ออกแบบร้านค้า ร้านอาหาร ร้านสำเร็จรูป สำนักงาน Modern Home
3 รูปด้าน (Elevations)
4 รูปตัด (Sections)

ออกแบบร้านค้า ร้านอาหาร ร้านสำเร็จรูป สำนักงาน Modern Home Elevation Section

2. แบบก่อสร้างทางวิศวกรรม (Engineering Drawing)

แบบก่อสร้างทางวิศวกรรมเป็นแบบที่เขียนขึ้นประกอบกับแบบก่อสร้างทางสถาปัตยกรรม เพื่อแสดงโครงสร้างอาคารและสิ่งจำเป็นอื่น ๆ ในอาคาร เช่น ไฟฟ้า ท่อน้ำประปา ท่อน้ำทิ้ง เป็นต้น แยกตามสาขาของงานวิศวกรรม ได้แก่

1. แบบวิศวกรรมโครงสร้าง (Structural Drawing) เป็นแบบที่วิศวกรโยธาเป็นผู้คำนวณขนาดและรายละเอียดของโครงสร้างอาคาร เช่น ตำแหน่งของเสาตอม่อและฐานรากของอาคาร ซึ่งจะตรงกับตำแหน่งเสาที่เป็นโครงสร้างในแบบก่อสร้างทางสถาปัตยกรรม และตำแหน่งเสา คาน พื้น ของอาคารแต่ละชั้น นอกจากนั้น ยังมีรูปขยายแสดงรายละเอียดของชิ้นส่วนโครงสร้าง เช่น เสา ฐานราก คาน พื้น เป็นต้น ว่ามีขนาดหน้าตัดเท่าใด แสดงตำแหน่ง ขนาดหน้าตัด และจำนวนเหล็กเสริมที่ใช้กับหน้าตัดโครงสร้างแต่ละส่วน และมีตารางรายละเอียดทางวิศวกรรมเพื่อช่วยเขียนอธิบายแทนรูปที่ซ้ำ ๆ กันของโครงสร้างส่วนต่าง ๆ อีกด้วย
แบบวิศวกรรมโครงสร้าง ใช้ตัวอักษรย่อนำหน้าหมายเลขแบบ วย. (S) แบบที่แสดง ได้แก่

1) ผังฐานราก (Foundation Plans)
2) ผังโครงสร้างแต่ละชั้น (Framing Plans)
3) แบบขยายรายละเอียดทางวิศวกรรม (Details)
4) ตารางรายละเอียดทางวิศวกรรม (Schedules)

 

ตัวอย่างผลงาน